วันพฤหัสบดีที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2552

หลักสูตรชีวีเป็นสุขทางอินเตอร์็เน็ต

เมื่อวันที่ 6 มกราคม ที่ผ่านมานี้ ผมมีโอกาสได้พูดกับน้อง ๆ นักเรียนชั้น ม.ุ6 ของโรงเรียนหัวไทรบำรุงราษฎร์ ที่เข้ามาอบรมที่ศูนย์ฯ วันนั้นผมได้รับมอบหมายให้พูดในหัวข้อ "การบริหารแบบอาริยะ" ซึ่งผมได้เตรียมเนื้อหาไว้ล่วงหน้าแล้ว โดยออกแบบเนื้อหาให้เหมาะสมกับผู้นำเยาวชนที่เข้ามาอบรมครั้งนี้

ผมเริ่มต้นด้วยการแนะนำศูนย์ฝึกอบรมของเราให้น้อง ๆ ทราบ แล้วตามด้วยกิจกรรมที่ผมทำอยู่คือ "โรงเรียนชีวีเป็นสุข" ทั้งภาคเยาวชนและภาคชุมชน จากนั้นก็ตามด้วยการแบ่งปันเรื่องราวชีวิตส่วนตัวให้น้อง ๆ ทราบโดยสรุปว่า "ผมเป็นเด็กบ้านนอก ที่เข้ามาเสี่ยงโชคในเมืองหลวงตั้งแต่อายุ 15 ปี เหมือนกับคนบ้านนอกส่วนใหญ่ในสมัยนั้น ผมดิ้นรนอยู่ในเมืองหลวง 20 ปี จึงได้คำตอบว่า ไม่ใช่สิ่งที่เราต้องการจริง ๆ จึงกลับหลังหันสู่ท้องทุ่ง แล้วทำงานที่ตนเองรัก แม้ไม่มีค่าตอบแทน แต่เราได้พบกับความสุขโดยตรง แบบไม่ต้องผ่านสื่อกลาง" เมื่อแบ่งปันเรื่องราวจบลง ผมก็เข้าเนื้อหาที่จำมาเล่าสู่้น้อง ๆ ฟัง

ชื่อเรื่องที่ได้นำเสนอในวันนั้นชื่อว่า "คุณลักษณะของผู้นำแบบอาริยะ" โดยเนื้อหาที่ผมนำมาบรรยายครั้งนั้นผมดัดแปลงมาจากงานของ Stephen R. Covey ชื่อ The Seven Habbits of Highly Effective People. ผมนอกกับน้อง ๆ ว่า "เราจะเป็นผู้นำแบบอาริยะได้ เราต้องมีคุณลักษณะทั้งหมด 3 มิติ คือ ชนะใจตนเอง ชนะใจผู้อื่น และเติมพลังชีวิตตนเองเสมอ"

ผมขยายความต่อไปว่า "ชนะใจตนเองเริ่มต้นด้วยวิธีคิดแบบเป็นไทยแก่ตัว แทนที่จะเป็นทาส เช่นแทนที่จะเริ่มต้นด้วยการคิดพึ่งคนอื่น ก็ต้องเปลี่ยนเป็นการพึ่งตนเอง แทนที่จะตำหนิคนอื่น โทษคนอื่น ก็ต้องมาเป็นผู้ที่รับผิดชอบทุกอย่างด้วยตัวเอง" ผมเปรียบเทียบให้น้อง ๆ ฟังว่า "ในชีวิตนี้ หากเปรียบเสมือนเรือเดินสมุทร เราก็้เป็นคนขับเรือ ดังนั้นเราจึงต้องรับผิดชอบทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่บนเรือลำนี้ด้วยตัวเองเต็มร้อย"

เมื่อคิดแบบไทได้แล้ว ต่อมาก็ต้องมีจุดหมายที่ผ่านการกลั่นกรองไว้แล้ว ผมขยายความให้น้อง ๆ ฟังว่า "เมื่อเราเป็นคนขับเรือ เราก็ต้องเป็นคนเขียนแผนที่เองว่าเราจะไป ณ ที่ใด และไปอย่างไร" ในขั้นตอนนี้ผมได้ฝึกให้น้อง ๆ คนหาสมบัติที่ซ่อนอยู่ภายในตนเองซึ่งผมนำเสนอวิธีการต่าง ๆ 10 วิธี ให้น้อง ๆ ไปลองฝึกขุดค้นและดึงความสามารถของตนให้ออกมา โดยผมย้ำกับน้อง ๆ ในตอนท้ายการฝึกว่า "ถ้าใครนำไปฝึกแล้วติดขัดอย่างไร หรือได้ผลอย่างไร หากจะนำมาแลกเปลี่ยนกันที่ โรงเรียนชีวีเป็นสุข จะได้ประโยชน์มากโดยเฉพาะกับตนเอง เมื่อเราเห็นตัวเองชัดเจนแล้ว เราจึงจะสามารถกำหนดได้ว่า "จุดหมายชีวิต" ของเราคืออะไร เมื่อเห็นจุดหมายแล้ว จึงเริ่มมาเขียนแผนชีวิต" การเริ่มเขียนแผนชีวิต ผมให้น้อง ๆ ชั่งน้ำหนักระหว่างความฝัน กับความจริงก่อน เพราะไม่ให้ความฝันเป็นแค่ฝันกลางวัน เพราะเขียนแบบเพ้อฝันที่ไม่อยู่บนพื้นฐานของทรัพยากรที่ตนเองมีอยู่ โดยเฉพาะทรัพยากรด้านจิตใจ ตรงนี้ผมบอกกับน้อง ๆ ว่า "ทรัพยากรภายนอกเป็นเรื่องรอง ที่สำคัญคือ หัวใจ ถ้าเราเทใจให้กับความฝันเต็มร้อย ผมกล้าเอาชีวิตเป็นประกันได้เลยว่า น้องก็มีโอกาสประสบความสำคัญเต็มร้อยในสิ่งที่ฝันเช่นกัน" ตอนท้ายผมได้บอกขั้นตอนการวางแผนชีวิตอย่างง่าย ๆ 5 ขั้นตอน ให้น้อง ๆ ไปฝึกเขียนที่บ้าน เนื่องจากเวลาในชั้นเรียนนี้มีไม่พอ

ขั้นสุดท้ายการชนะใจตนเองได้แก่ ทำสิ่งที่สำคัญก่อน ผมอธิบายให้น้อง ฟังว่า "เมื่อเราได้แผนชีวิตแล้ว ในการเขียแผนปฏิบัติการรายสัปดาห์ จะเต็มไปด้วยกิจกรรมต่าง ๆ มากมาย หากต้องการให้แผนได้ผล น้อง ๆ ต้องนำมาจัดลำดับความสำคัญก่อน โดยให้น้อง ๆ เอาบทบาทที่สำคัญเป็นหลักสัก 3 บทบาทมาทำให้ได้ในแต่ละสัปดาห์ เรื่องนี้ครูมักจะเปรียบเทียบกับการเรียงหินลงในถัง ถ้าจะให้บรรจุิหินลงในถังได้มาก ต้องเอาหินก้อนใหญ่ใส่ลงไปก่อน ชีวิตประจำวันก็เช่นกัน ต้องทำสิ่งที่สำคัญก่อน ส่วนเวลาที่เหลือค่อยเอากิจกรรมที่มีความสำคัญน้อยกว่ามาทำ"

ในวันนั้น ผมบรรยายมาถึงตอนนี้ เวลาก็หมด แต่ผมก็ได้ให้สัญญากับน้อง ๆ ว่า "ถ้าใครต้องการที่จะให้ผมเป็นโค้ชให้ผมยินดี แต่บอกไว้ก่อนนะว่าไม่ฟรี แน่นอน เงินซื้อความสำเร็จไม่ได้หรอก ถ้าต้องการความสำเร็จ ก็ต้องเอาใจมาลงทุน ผมเป็นโค้ชด้วยใจ ผู้มาเรียนก็ต้องเทใจแบบหมดหน้าตักเช่นเดียวกันครับ"

ยินดีผู้ที่ต้องการฝึกหลักสูตร ชีวีเป็นสุขทางอินเตอร์เน็ตที่จริงจังทุกคนครับ (ทุกคนที่มา 15 คนแรกเท่านั้น)

1 ความคิดเห็น: